ระบบสแกนหน้า Biometric ยกระดับความง่ายทุกการเดินทาง แต่มีข้อที่ต้องระวัง!
แถวที่ยาวที่สุดในการต่อคิวเดินทาง มีอยู่ 3 อย่างด้วยกันครับ
ต่อแถวเช็คอิน
ต่อแถวตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร
ต่อแถวผ่าน ตม.
โดยทั้ง 3 อย่างนี้จะเรียงเป็นลำดับไปนะครับ ซึ่งการเช็คอินเราก็มีแบบเช็คอินออนไลน์มาเรียบร้อยแล้ว และในส่วนของต่อแถวตรวจสอบยืนยันตัวตนนี่แหละครับที่เจ้าเทคโนโลยีระบบ Biometric จะเข้ามามีส่วนช่วยให้การเดินทางของเราไวขึ้น และสะดวกมากขึ้นที่สนามบินสุวรรณภูมิครับ
ระบบ Biometric คืออะไร?
Biometric เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีตรวจสอบเอกลักษณ์บุคคลผ่านลักษณะทางกายภาพ เช่น
- การสแกน ใบหน้า (Facial Recognition)
- การสแกน ลายนิ้วมือ
- การสแกน ม่านตา
สำหรับที่สนามบินสุวรรณภูมิ เทคโนโลยีที่เน้นใช้งานคือ การจดจำใบหน้า (Facial Recognition) เพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้โดยสาร โดยไม่ต้องพึ่งพาเอกสารในบางขั้นตอน เช่น ตรวจเอกสาร Passport หรือตั๋วเครื่องบินครับ
การทำงานของระบบ Biometric ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
การลงทะเบียนใบหน้า
- ผู้โดยสารจะต้องยินยอมให้มีการเก็บข้อมูล ใบหน้า ไว้ในระบบ Biometric ขณะทำการเช็คอิน
- ข้อมูลใบหน้าจะถูกเชื่อมโยงกับข้อมูลการเดินทาง เช่น หมายเลขเที่ยวบิน และเอกสารการเดินทาง
การตรวจสอบและยืนยันตัวตน
- ในจุดต่าง ๆ ภายในสนามบิน เช่น บริเวณตรวจสอบความปลอดภัย (Security Checkpoint) และบริเวณตรวจคนเข้าเมือง (Immigration) ระบบจะใช้กล้องจับภาพใบหน้าและเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้
การขึ้นเครื่อง (Boarding)
- เมื่อถึงขั้นตอนขึ้นเครื่อง ระบบ Biometric จะยืนยันตัวตนผู้โดยสารโดยการสแกนใบหน้าแทนการตรวจเอกสารพาสปอร์ตและบัตรขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) แต่สำหรับบางสายการบินก็ยังต้องแสดงเอกสารบัตรขึ้นเครื่องอยู่นะครับ อาจจะหยิบเตรียมมาไวด้วยก็ได้
ข้อดีของระบบ Biometric
เพิ่มความรวดเร็วและสะดวกสบาย
- ลดขั้นตอนการยืนยันตัวตนด้วยเอกสาร เช่น พาสปอร์ตและบอร์ดดิ้งพาส
- ช่วยให้ผู้โดยสารผ่านจุดตรวจต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
เพิ่มความปลอดภัย
- เทคโนโลยี Biometric ช่วยให้การยืนยันตัวตนมีความแม่นยำสูง ลดความเสี่ยงจากการปลอมแปลงเอกสาร
ลดการสัมผัส (Touchless Process)
- โดยเฉพาะในยุคหลังการระบาดของ COVID-19 และเชื้อโรคต่างๆ ระบบนี้ช่วยลดการสัมผัสระหว่างผู้โดยสารกับเจ้าหน้าที่
สนามบินสุวรรณภูมิเริ่มทดลองใช้ระบบ Biometric โดยเฉพาะการสแกนใบหน้าอย่างเต็มรูปแบบในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมา โดยเน้นจุดต่าง ๆ ดังนี้
- บริเวณเช็คอิน (Check-in Counters)
- จุดตรวจค้นความปลอดภัย (Security)
- ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Immigration)
- ประตูขึ้นเครื่อง (Boarding Gates)
การใช้งาน Biometric เป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก โดยปัจจุบันสนามบินชั้นนำหลายแห่งก็มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้ เช่น สนามบินชางงี (สิงคโปร์), สนามบินฮ่องกง, และสนามบินดูไบ
เมื่อพูดถึงข้อดีแล้วจะไม่พูดถึงข้อเสีย หรือข้อที่ใครหลายคนกังวลกันก็คงไม่ได้ครับ ไปดูกันว่าเจ้าตัวระบบนี้มีข้อเสีย หรือข้อที่ควรระวังอะไรบ้าง
ข้อกังวลเกี่ยวกับระบบ Biometric
ความเป็นส่วนตัว (Privacy): การเก็บและใช้งานข้อมูลชีวมิติ (Biometric Data) อาจทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลหรือการนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งก็เป็นเรื่องหลักเลยล่ะครับ สำหรับข้อนี้ เพราะข้อมูลของเราถึงจะฝากไว้กับธนาคาร หรือทางเครือข่ายมือถือ ทางมิจฉาชีพก็ยังสามารถล่วงรู้ถึงเบอร์โทร และข้อมูลต่างๆทางราชการของเราได้เลย
ถ้าหากในอนาคต AI มีความแข็งแกร่งมาขึ้น และการที่เรามีหน้าตาอยู่ในระบบนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้มิจฉาชีพนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ครับ
การยินยอม (Consent): ผู้โดยสารบางคนอาจไม่สะดวกใจที่จะให้ข้อมูลใบหน้าหรือไม่ต้องการให้มีการบันทึกข้อมูล เพื่อป้องกันความปลอดภัย และไม่ต้องการให้เข้าถึงความเป็นส่วนตัว
ความพร้อมของระบบ: ในบางครั้งระบบอาจมีปัญหาหากมีผู้โดยสารจำนวนมาก หรือข้อมูลใบหน้ามีความผิดพลาด บางครั้งก็อาจจะจำใบหน้าไม่ได้ หรือสลับกัน การใช้งานที่เยอะมากๆ อาจทำให้การทำงานของระบบผิดพลาด และมีปัญหาได้
สรุป
ระบบ Biometric ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะ การสแกนใบหน้า ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร อย่างไรก็ตาม การใช้งานยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขความยินยอมของผู้โดยสาร ว่าต้องการให้ระบบบันทึกไว้ไหม ถ้าไม่ต้องการใช้ระบบสแกนหน้า หรือ Biometric ก็ยังสามารถใช้การเดินทางในรูปแบบเดิมได้ เช่นกันครับ
รวมถึงเรื่องความปลอดภัยต่างๆ สำหรับใครที่กังวลในเรื่องของข้อมูลก็อาจจะใช้การโชว์ Passport และ Boarding Pass เหมือนเดิมก็สามารถทำได้ครับผม
และสำหรับใครกำลังมองหารายได้เสริม หรือการลงทุนที่ได้เงินไว สามารถคลิกที่นี่ได้เลยครับ